ทำวัดเช้า
พุทธาภิถุติ
( หันทะ มะยัง พุทธาภิถุติง กะโรมะ เส)
โย โส ตะถาคะโต - พระตถาคตเจ้านั้นพระองค์ใด
อะระหัง - เป็นผู้ไกลจากกิเลส
สัมมาสัมพุทโธ - เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
วิชชาจะระณะสัมปันโน - เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
สุคะโต - เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี
โลกะวิทู - เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง
อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ
- เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า
สัตถา เทวะมะนุสสานัง - เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
พุทโธ - เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม
ภะคะวา - เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์
โย อิมัง โลกัง สะเทวะกัง สะมาระกัง สะพ๎รัห๎มะกัง ,
สัสสะมะณะพ๎ราห๎มะณิง ปะชัง สะเทวะมะนุสสัง สะยัง
อะภิญญา สัจฉิกัต๎วา ปะเวเทสิ .
- พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด , ได้ทรงทำความดับทุกข์ให้แจ้ง
ด้วยพระปัญญาอันยิ่งเองแล้ว , ทรงสอนโลกนี้พร้อมทั้งเทวดา,
มาร พรหม และหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์, พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม
โย ธัมมัง เทเสสิ - พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ทรงแสดงธรรมแล้ว
อาทิกัล๎ยาณัง - ไพเราะในเบื้องต้น
มัชเฌกัล๎ยาณัง - ไพเราะในท่ามกลาง
ปะริโยสานะกัล๎ยาณัง - ไพเราะในที่สุด
สาตถัง สะพ๎ยัญชะนัง เกวะละปะริปุณณัง ปะริสุทธัง
พ๎รัห๎มะจะริยัง ปะกาเสสิ .
- ทรงประกาศพรหมจรรย์, คือแบบแห่งการปฏิบัติอันประเสริฐ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ สิ้นเชิง ,
พร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ
ตะมะหัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ
- ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง เฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ตะมะหัง ภะคะวันตัง สิระสา นะมามิ
- ข้าพเจ้านอบน้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น, ด้วยเศียรเกล้า (กราบ)
ธัมมาภิถุติ
(หันทะ มะยัง ธัมมาภิถุติง กะโรมะ เส)
โย โส ส๎วากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
- พระธรรมนั้นใดเป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้า, ได้ตรัสไว้ดีแล้ว
สันทิฏฐิโก - เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง
อะกาลิโก - เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล
เอหิปัสสิโก - เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด
โอปะนะยิโก - เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ - เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน
ตะมะหัง ธัมมัง อะภิปูชะยามิ - ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง เฉพาะพระธรรมนั้น
ตะมะหัง ธัมมัง สิระสา นะมามิ. - ข้าพเจ้านอบน้อมพระธรรมนั้น ด้วยเศียรเกล้า (กราบ)
สังฆาภิถุติ
( หันทะ มะยัง สังฆาภิถุติง กะโรมะ เส)
โย โส สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
- สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นหมู่ใด, ปฏิบัติดีแล้ว
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
- สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติตรงแล้ว
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
- สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด , ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรม
เป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
- สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด , ปฏิบัติสมควรแล้ว
ยะทิทัง - ได้แก่บุคคลเหล่านี้คือ
จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา - คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ , นับเรียงตัวบุรุษได้ ๘ บุรุษ
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ - นั่นแหละสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
อาหุเนยโย - เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา
ปาหุเนยโย - เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ
ทักขิเณยโย - เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน
อัญชะลิกะระณีโย - เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี
อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ - เป็นเนื้อนาบุญของโลก , ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า
ตะมะหัง สังฆัง อะภิปูชะยามิ - ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง เฉพาะพระสงฆ์หมู่นั้น
ตะมะหัง สังฆัง สิระสา นะมามิ. - ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์หมู่นั้น ด้วยเศียรเกล้า (กราบ)
รตนัตตยัปปณามคาถา
(หันทะ มะยัง ระตะนัตตะยัปปะณามะคาถาโย
เจวะ สังเวคะวัตถุปะริกิตตะนะปาฐัญจะ ภะณามะ เส)
พุทโธ สุสุทโธ กะรุณามะหัณณะโว
- พระพุทธเจ้าผู้บริสุทธิ์ มีพระกรุณาดุจห้วงมหรรณพ
โยจจันตะสุทธัพพะระญาณะโลจะโน
- พระองค์ใด มีตาคือญาณอันประเสริฐหมดจดถึงที่สุด
โลกัสสะ ปาปูปะกิเลสะฆาตะโก
- เป็นผู้ฆ่าเสียซึ่งบาปและอุปกิเลสของโลก
วันทามิ พุทธัง อะหะมาทะเรนะ ตัง
- ข้าพเจ้าไหว้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น โดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ
ธัมโม ปะทีโป วิยะ ตัสสะ สัตถุโน
- พระธรรมของพระศาสดา สว่างรุ่งเรืองเปรียบดวงประทีป
โย มัคคะปากามะตะเภทะภินนะโก
- จำแนกประเภท คือ มรรค ผล นิพพาน , ส่วนใด
โลกุตตะโร โย จะ ตะทัตถะทีปะโน
- ซึ่งเป็นตัวโลกุตตระ , และส่วนใดที่ชี้แนวแห่งโลกุตตระนั้น
วันทามิ ธัมมัง อะหะมาทะเรนะ ตัง
- ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมนั้น โดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ
สังโฆ สุเขตตาภ๎ยะติเขตตะสัญญิโต
- พระสงฆ์เป็นนาบุญอันยิ่งใหญ่กว่านาบุญอันดีทั้งหลาย
โย ทิฏฐะสันโต สุคะตานุโพธะโก
- เป็นผู้เห็นพระนิพพาน , ตรัสรู้ตามพระสุคต , หมู่ใด
โลลัปปะหีโน อะริโย สุเมธะโส
- เป็นผู้ละกิเลสเครื่องโลเลเป็นพระอริยเจ้า มีปัญญาดี
วันทามิ สังฆัง อะหะมาทะเรนะ ตัง
- ข้าพเจ้าไหว้พระสงฆ์หมู่นั้นโดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ
อิจเจวะเมกันตะภิปูชะเนยยะกัง , วัตถุตตะยัง วันทะยะ
ตาภิสังขะตัง , ปุญญัง มะยา ยัง มะมะ สัพพุปัททะวา ,
มา โหนตุ เว ตัสสะ ปะภาวะสิทธิยา
- บุญใดที่ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งวัตถุสาม , คือพระรัตนตรัยอันควรบูชายิ่งโดยส่วนเดียว ,
ได้กระทำแล้วเป็นอย่างยิ่งเช่นนี้ , ขออุปัทวะทั้งหลาย , จงอย่ามีแก่ข้าพเจ้าเลย ,
ด้วยอำนาจความสำเร็จอันเกิดจากบุญนั้น
สังเวคะปะริกิตตะนะปาฐะ
อิธะ ตะถาคะโต โลเก อุปปันโน
- พระตถาคตเจ้าเกิดขึ้นแล้วในโลกนี้
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
- เป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
ธัมโม จะ เทสิโต นิยยานิโก
- และพระธรรมที่ทรงแสดงเป็นธรรมเครื่องออกจากทุกข์
อุปะสะมิโก ปะรินิพพานิโก
- เป็นเครื่องสงบกิเลส , เป็นไปเพื่อปรินิพพาน
สัมโพธะคามี สุคะตัปปะเวทิโต
- เป็นไปเพื่อความรู้พร้อม , เป็นธรรมที่พระสุคตประกาศ
มะยันตัง ธัมมัง สุต๎วา เอวัง ชานามะ
- พวกเราเมื่อได้ฟังธรรมนั้นแล้ว , จึงได้รู้อย่างนี้ว่า
ชาติปิ ทุกขา - แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์
ชะราปิ ทุกขา - แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์
มะระณัมปิ ทุกขัง - แม้ความตายก็เป็นทุกข์
โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา
- แม้ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย
ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์
อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข
- ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์
ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข
- ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์
ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง
- มีความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นนั่นก็เป็นทุกข์
สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา - ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นตัวทุกข์
เสยยะถีทัง - ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ
รูปูปาทานักขันโธ - ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือรูป
เวทะนูปาทานักขันโธ - ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือเวทนา
สัญญูปาทานักขันโธ - ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือสัญญา
สังขารูปาทานักขันโธ - ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือสังขาร
วิญญาณูปาทานักขันโธ - ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือวิญญาณ
เยสัง ปะริญญายะ - เพื่อให้สาวกกำหนดรอบรู้อุปาทานขันธ์เหล่านี้เอง
ธะระมาโน โส ภะคะวา - จึงพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น, เมื่อยังทรงพระชนม์อยู่
เอวัง พะหุลัง สาวะเก วิเนติ.- ย่อมทรงแนะนำสาวกทั้งหลาย เช่นนี้เป็นส่วนมาก
เอวัง ภาคา จะ ปะนัสสะ ภะคะวะโต สาวะเกสุ อะนุสาสะนี พะหุลา ปะวัตตะติ .
- อนึ่งคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น, ย่อมเป็นไปในสาวกทั้งหลายส่วนมาก,
มีส่วนคือการจำแนกอย่างนี้ว่า
รูปัง อะนิจจัง - รูปไม่เที่ยง
เวทะนา อะนิจจา - เวทนาไม่เที่ยง
สัญญา อะนิจจา - สัญญาไม่เที่ยง
สังขารา อะนิจจา - สังขารไม่เที่ยง
วิญญาณัง อะนิจจัง - วิญญาณไม่เที่ยง
รูปัง อะนัตตา - รูปไม่ใช่ตัวตน
เวทะนา อะนัตตา - เวทนาไม่ใช่ตัวตน
สัญญา อะนัตตา - สัญญาไม่ใช่ตัวตน
สังขารา อะนัตตา - สังขารไม่ใช่ตัวตน
วิญญาณัง อะนัตตา - วิญญาณไม่ใช่ตัวตน
สัพเพ สังขารา อะนิจจา - สังขารทั้งหลายทั้งปวง ไม่เที่ยง
สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ - ธรรมทั้งหลายทั้งปวง ไม่ใช่ตัวตน ดังนี้
เต มะยัง โอติณณามหะ (หญิง เต เป็น ตา)- พวกเราทั้งหลายเป็นผู้ถูกครอบงำแล้ว
ชาติยา - โดยความเกิด
ชะรามะระเณนะ - โดยความแก่และความตาย
โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ
- โดยความโศก ความร่ำไรรำพัน, ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ
ความคับแค้นใจทั้งหลาย
ทุกโขติณณา - เป็นผู้ถูกความทุกข์หยั่งเอาแล้ว
ทุกขะปะเรตา - เป็นผู้มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้าแล้ว
อัปเปวะนามิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยา ปัญญาเยถาติ
- ทำไฉนการทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ , จะพึงปรากฏชัดแก่เราได้
สำหรับ พระภิกษุ - สามเณรสวด
จิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง อุททิสสะ อะระหันตัง สัมมาสัมพุทธัง
- เราทั้งหลาย อุทิศเฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้า , ผู้ไกลจากกิเลส
ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง , แม้ปรินิพพานนานแล้ว พระองค์นั้น
สัทธา อะคารัส๎มา อะนะคาริยัง ปัพพะชิตา
- เป็นผู้มีศรัทธา ออกบวชจากเรือน ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนแล้ว
ตัส๎มิง ภะคะวะติ พ๎รห๎มะจะริยัง จะรามะ
- ประพฤติอยู่ซึ่งพรหมจรรย์ ในพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น
ภิกขูนัง สิกขาสาชีวะสะมาปันนา
- ถึงพร้อมด้วยสิกขาและธรรมเป็นเครื่องเลี้ยงชีวิตของภิกษุทั้งหลาย
ตัง โน พ๎รห๎มะจะริยัง อิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ
อันตะกิริยายะ สังวัตตะตุ
- ขอให้พรหมจรรย์ของเราทั้งหลายนั้น , จงเป็นไปเพื่อการทำที่สุด
แห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ เทอญ
สำหรับอุบาสก , อุบาสิกา
จิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง สะระณังคะตา
- เราทั้งหลาย ผู้ถึงแล้วซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า , แม้ปรินิพพาน
นานแล้วพระองค์นั้น เป็นสรณะ
ธัมมัญจะ สังฆัญจะ - ถึงพระธรรมด้วย ถึงพระสงฆ์ด้วย
ตัสสะ ภะคะวะโต สาสะนัง , ยะถาสะติ , ยะถาพะลัง
มะนะสิกะโรมะ อะนุปะฏิปัชชามะ
- จักทำในใจอยู่ ปฏิบัติตามอยู่ ซึ่งคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ตามสติกำลัง
สา สา โน ปะฏิปัตติ - ขอให้ความปฏิบัตินั้นๆ ของเราทั้งหลาย
อิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยายะ สังวัตตะตุ
- จงเป็นไปเพื่อการทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ เทอญ